เทศกาลต่างๆในประเทศญี่ปุ่น


    เทศกาลสำคัญๆในประเทศญี่ปุ่น แสดงถึง วัฒนธรรมและประเพณี ตลอดจนความคิดของคนญี่ปุ่น  ผมคิดว่าสำหรับคนที่สนใจในภาษาญี่ปุ่น นอกจากเรียนภาษาแล้วควรศึกษาวัฒนธรรมและประเพณีของชาวญี่ปุ่นด้วย  หวังว่าท่านผุ้อ่านทุกท่านจะได้รับความรู้และความสนุกจากการเรียนรู้ เทศกาลของชาวญี่ปุ่นนะครับ

เทศกาลโอบ้ง (Obong matsuri)


เทศกาลโอบ้ง

         จัดทุกวันที่ 13-16 เดือนสิงหาคมของทุกปี ชาวญี่ปุ่นเดินทางกลับบ้านเกิดในช่วงนี้ เพื่อทำความสะอาดหลุมฝังศพและเซ่นไหว้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษ เพราะเชื่อกันว่าดวงวิญญาณคนตายจะกลับลงมาเยี่ยมโลกตามบ้านเรือน จึงมีการจุดตะเกียงหรือคบเพลิงเพื่อส่องนำทางดวงวิญญาณให้กลับบ้านถูก ในเทศกาลมีการร่ายรำพื้นบ้านโบราณบงโอโดริ(Bon Odori)อยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง โดยชาวญี่ปุ่นจะสวมยูกาตะ และต้องสวมถุงเท้าที่เรียกว่า“Zori” และรองเท้าเกี๊ยะ ที่เรียก “Geta”เท่านั้น ถึงจะถูกต้องประเพณี ในวันที่ 13-15 สิงหาคม ก็มีการจัดพิธีกรรมเพื่อบูชาบรรพบุรุษ โดยการจุดไฟต้อนรับที่หน้าประตูบ้าน และถวายผักหน้าแท่นบูชา เอาปักไว้บนตะเกียบ แล้วในตอนเย็นของวันที่ 15 ก็มีการส่งวิญญาณบรรพบุรุษด้วยการจุดไฟที่ เรียกว่า โทโรนางาชิ เป็นโคมกระดาษมีเทียนจุดไฟอยู่ภายใน แล้วนำไปลอยในแม่น้ำ เพื่อนำทางให้วิญญาณบรรพบุรุษลอยออกสู่ทะเล แต่พิธีการลอยโคมไฟของแต่ละท้องถิ่นก็แตกต่างกันไป

        นอกจากนี้ในวันที่16 เวลา 20.00น. หรือตอน2 ทุ่ม มีการจุดไฟอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า โอคุริบิ ก็เป็นการนำทางวิญญาณบรรพบุรุษหลังจากมาเยี่ยมลูกหลานเสร็จแล้วนั่นแหละ ไฟที่จุดนี้มีชื่อเฉพาะอีกด้วยไฟที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ ไดมนจิ เป็นไฟรูปตัวอักษรภาษาจีนขนาดใหญ่ อ่านว่า ได(Dai) แปลว่า ใหญ่ ไฟนี้จะเริ่มจุดที่ภูเขาเนียวอิงาตาเคะ(Nyoigatake)ในเมืองเกียวโต แสงไฟสว่างไสวเชียว ส่วนบนเขาลูกอื่นก็มีตัวอักษรอื่นๆ เทศกาลนี้ถือเป็นช่วงวันหยุดที่ติดต่อกันยาวเทศกาลหนึ่งของชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นย่านสำนักงานในกรุงโตเกียวหรือร้านค้าต่างๆก็จะหยุดเช่นกันนเดินทางกลับบ้านเกิดไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษกันตามประเพณี




เทศกาลชมดอกไม้ (Ohanami matsuri)

                   เทศกาลชมดอกไม้หรือที่เรียกว่า ฮานามิ (Hanami) ในภาษาญี่ปุ่นจริงๆ แล้วหมายถึง การชมดอกไม้ (ไม่ได้ระบุว่าเป็นดอกไม้ชนิดไหน) แต่ชาวญี่ปุ่นจะนิยมชมดอกซากุระกันมากกว่าดอกไม้ชนิดอื่นๆ ที่สำคัญดอกไม้ประจำชาติสายพันธุ์นี้ จะบานแค่ปีละครั้งเท่านั้น ครั้งละประมาณหนึ่งอาทิตย์ ผู้คนก็เลยถือโอกาสนี้ให้เป็นเทศกาลชมดอกซากุระ พร้อมกับเป็นการสังสรรค์ประจำปีกันไปเลยทีเดียว

 ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการชมดอกซากุระ (Cherry Blossoms)
           เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม ไปจนถึง พฤษภาคม ของทุกปี ขึ้นอยู่กับพื้นที่ เริ่มจากทางตอนใต้ของประเทศ คือโอกินาว่า ไปสิ้นสุดที่ตอนเหนือ คือ ฮอคไกโด (Hokkaido) ไม่ได้บานพร้อมกันทั้งประเทศ
           การบานของดอกซากุระจะขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ไม่ใช่ว่าที่ไหนหรือเวลาไหนก็บานได้ โดยปกติแล้วจะเป็นช่วงเวลาที่อากาศกำลังเย็นสบาย ไม่หนาวหรือร้อนจนเกินไป ซึ่งมักจะเป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างฤดูหนาวกับฤดูใบไม้ผลินั่นเอง
           และเนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีภูมิประเทศวางในลักษณะแนวตั้ง ดังนั้นฤดูกาลของญี่ปุ่น จากฤดูหนาวสู่ร้อน จึงเริ่มที่ส่วนล่างของประเทศก่อนจากหมู่เกาะโอกินาว่า ซึ่งจะบานตั้งแต่เดือนมกราคมเลย เรื่อยมาจนถึงโอซาก้า เกียวโต นาโงย่า โตเกียว และจะบานเป็นที่สุดท้าย ที่ฮอคไกโดในราวเดือนพฤษภาคม
           โดยดอกซากุระจะบานเพียงช่วงสั้นๆ นับจากวันที่เริ่มผลิดอก จนถึงวันที่ ดอกบานสะพรั่งที่สุด รวมแล้วประมาณ 7 วันเท่านั้น และหลังจากนั้นก็จะร่วงโรยไปทันที นอกจากนี้สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย พายุ ฝนตกหนัก หรือลมกรรโชกแรง ก็ส่งผลให้ระยะเวลาที่ดอกซากุระบานลดลงได้ หรือหากทีไหนฤดูกาลแปรปรวน (เช่น ฤดูหนาวยาวนานกว่าปกติ) ซากุระก็จะเลื่อนเวลาบานออกไปเช่นกัน
           แล้วไม่ใช่ว่าในท้องที่หรือเมืองเดียวกัน ซากุระจะบานสะพรั่งพร้อมกัน เพราะต้นไหนอยู่ในที่ร่มก็จะบานช้ากว่าต้นที่อยู่กลางแจ้งอีกด้วย
เทศกาลชมดอกไม้ (Hanami) หรือเทศกาลชมดอกซากุระ(Cherry Blossoms) หรือเทศกาลฮานามิ(Hanami)
» รูปโดย :  Notes To Myself และ Tame

 สถานที่แนะนำในการชมดอกซากุระ
          เมืองโตเกียว (Tokyo) สวนสาธารณะอุเอะโนะ (Ueno Park) สวนสาธารณะชินจูกุเกียวเอน(Shinjuku Gyoen) ชิโดริกาฟุจิ(Chidorigafuchi)  สวนสาธารณะสุมิดะ(Sumida Park) สุสานโอยามะ(Aoyama Cemetery) สวนพฤกษศาสตร์โคอิชิคาวะ(Koishikawa Botanical Garden)  สวนสาธารณะอิโนคาชิระ(Inokashira Park)
          เมืองโยโกฮาม่า (Yokohama) สวนสาธารณะคามอนยาม่า(Kamonyama Park) สวนซังเคเอ็น (SAnkeien)
          เมืองคามาคุระ (Kamakura) ดันคาสุระ(Dankazura)
          เมืองนาโงย่า (Nagoya) ปราสาทนาโงย่า (Nagoya Castle)
          เมืองเกียวโต (Kyoto) สวนสาธารณะมารุยาม่า (Maruyama Park) เส้นทางนักปราชญ์(Philosopher’s Trail) ศาลเจ้าเฮอัน(Heian Shrine) อาราชิยาม่า(Arashiyama) ริมแม่น้ำกาโม่(Kamogawa) วัดไดโกจิ(Daigoji) ศาลเจ้าฮิราโน่(Hirano Shrine) คลองโอคาซากิ(Okazaki Canal)
          เมืองฮิเมจิ (Himeji) ปราสาทฮิเมจิ (Himeji Castle)
          เมืองอาโอโมริ (Aomori) ปราสาทฮิโรซากิ(Hirosaki Castle)

» ข้อมูลจาก: เที่ยวไม่ง้อทัวร์ ตีตั๋วตะลุยญี่ปุ่น 2 เส้นทางซากุระ (2551)



ซากุระ ญี่ปุ่น
ซากุระ ญี่ปุ่น
ซากุระ ญี่ปุ่น
ซากุระ ญี่ปุ่น
ซากุระ ญี่ปุ่น
ซากุระ ญี่ปุ่น


เทศกาลหิมะ (Yuki matsuri)

เมืองซัปโปโร (札幌) เป็นเมือง ๆ หนึ่งในจังหวัดฮอกไกโด (北海道) ซึ่งจังหวัดฮอกไกโดนี้ ก็กินพื้นที่ทั้งหมดของเกาะฮอกไกโดนั่นแหละ จึงเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ด้วยขนาดถึง 83,453.57 km² ว่าโดยตำแหน่งแห่งหนก็เป็นเกาะที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศ มีูมิอากาศหนาวเย็นเกือบทั้งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาวอย่างนี้ อุณหูมิทั่วไปจะอยู่ที่ต่ำกว่า 0℃ จึงทำให้ภูมิประเทศแทบนี้ถูกปกคลุมด้วยหิมะตลอดฤดูหนาว ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสถานที่ที่เหมาะต่อการจัดงานในเทศกาลฤดูหนาว





งานเทศกาลหิมะซัปโปโร (さっぽろ雪まつり) เป็นงานเทศกาลประจำปีงานหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วโลก และในรอบปีนี้ ก็จัดขึ้นเป็นปีที่ 60 พอดิบพอดี ในตัวงานเทศกาลก็จะมีการประดับประดางานประติมากรรมหิมะขนาดใหญ่โตประมาณ เท่าๆกับตึกแถว 3-4 คูหา ไปจนถึงงานขนาดเท่า 2-3 คนโอบ จัดแสดงไว้อย่างมากมาย แล้วก็มีส่วนการประกวดงานประติมากรรมหิมะจากนานาชาติ ซึ่งชาติไทยของเราก็เป็นหนึ่งประเทศที่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศงาน ประติมากรรมหิมะมาแล้วด้วย

แรกเริ่มเดิมที การปั้นตุ๊กตาหิมะเริ่มต้นขึ้นที่เมืองเล็กๆที่ชื่อว่าโอตารุ (小樽) ซึ่งเกิดจากความคิดของเด็กนักเรียน ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 1935 แล้วจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1950 อันเป็นช่วงาวะฟื้นฟูหลังสงครามโลก สมาคมท่องเที่ยวซัปโปโร และคณะกรรมการเมืองซัปโปโรก็มีความเห็นว่า ควรจัดงานเทศกาลหิมะขึ้นเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวซัปโปโรให้มาก ขึ้น จึงได้นำเอาไอเดียการปั้นหุ่นหิมะของเด็กๆจากโอตารุขึ้นมาเป็นรูปแบบ แล้วให้เหล่านักเรียน และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานรถไฟจังหวัดซัปโปโรมาร่วมปั้นงานแสดง ในการจัดครั้งแรก มีงานปั้นหิมะแค่เพียง 6 ชิ้นเท่านั้น และนอกจากนั้น ยังมีการแสดงความบันเทิงอื่นๆ และมีการแข่งสุนัขลากเลื่อนอีกด้วย

ในสมัยแรกๆของงานเทศกาล งานหิมะปั้นโดยมากก็เป็นงานฝีมือของเด็กๆทั้งสิ้น ความสูงของงานประติมากรรม โดยเฉลี่ยก็อยู่ที่ 3-4 เมตร จนกระทั่งในการจัดงานเทศกาลครั้งที่ 4 ได้มีกลุ่มนักเรียนโรงเรียนอาชีวะซัปโปโร ได้สร้างงานที่ชื่อว่า สู่สวรรค์ (昇天) ขึ้น และงานนี้ก็กลายเป็นงานปั้นหิมะที่มีความโดดเด่นขึ้นมาทันทีด้วยความสูงของ ชิ้นงานถึง 15 เมตร และนี่ถือเป็นงานชิ้นแรกที่มีการใช้เครื่องจักรกลหนักในการช่วยสร้างงาน ประติมากรรม


แล้วในปีต่อๆมา ชาวบ้านและหน่วยงานห้างร้านต่างๆก็เริ่มร่วมลงมือปั้นงานหิมะออกแสดงมาก ขึ้นๆ จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1959 ผู้คนจากนอกเกาะฮอกไกโดก็เริ่มรู้จักและเริ่มมาท่องเที่ยวในช่วงงานเทศกาล หิมะเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1972 เมืองซัปโปโรได้เป็นเมืองเจ้าาพในการจัดโอลิมปิคฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับช่วงเวลาจัดงานเทศกาลหิมะซัปโปโร ครั้งที่ 23 และนั่นก็ทำให้ชาวโลกได้รู้จักงานเทศกาลหิมะของเมืองซัปโปโรดีมาก

ใน ส่วนพื้นที่จัดแสดงงานแกะสลักน้ำแข็งที่ย่านซุซุกิโนะ (すすきの) เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1981 และพอถึงปี ค.ศ. 1983 งานแสดงงานแกะสลักน้ำแข็งนี้ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลหิมะเมืองซัปโป โรไป ส่วนลานจัดแสดงที่สวนสาธารณะนากาชิมะนั้น ได้เข้าร่วมกับงานเทศกาลหิมะซัปโปโรนี้เพียง 3 ปีต่อเนื่องเท่านั้น คือตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 – ปี ค.ศ. 1992 เนื่องจากชิ้นงานที่นำมาจัดแสดงมีน้อยไม่สามารถสร้างแรงดึงดูดได้เพียงพอ





อีก ด้านหนึ่ง หน่วยงานกองกำลังรักษาประเทศ ได้ร่วมสร้างงานปั้นหิมะที่สวนสาธารณะโอโดริ (大通公園) มาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1955 แล้ว จนเมื่อปี ค.ศ. 1963 ที่กองกำลังรักษาประเทศมาโคมาไน (陸上自衛隊真駒内駐屯地) ได้เริ่มให้ใช้พื้นที่ และร่วมสร้างงานประติมากรรมหิมะขนาดใหญ่ออกแสดง เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลหิมะเมืองซัปโปโร แต่พอถึงปี ค.ศ. 2005 เพื่อเป็นไปตามการรักษาความมั่นคง ให้สอดคล้องกับแผนป้องกันการก่อการร้าย จึงยุติการให้ใช้พื้นที่หน่วยกองกำลังรักษาประเทศลงตั้งแต่ปีนั้น แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากเหล่าอาสาสมัครจากหน่วยงานอื่นๆ จึงได้มีการเปิดใช้พื้นที่อื่นทดแทน

สำหรับการเตรียมตัวจัดงาน เทศกาลหิมะนั้น การวางแผนจะเริ่มกันตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ร่วงของทุกปี หน่วยงานห้างร้านที่มีความประสงค์จะร่วมออกแสดงผลงาน ต้องยื่นความจำนง แสดงแบบ รวมถึงการส่งต้นแบบต่อคณะกรรมการให้แล้วเสร็จก่อนเดือนธันวาคม เพื่อที่คณะกรรมการจัดงานจะได้คำนวณและจัดเตรียมหิมะให้เพียงพอต่อการใช้ ซึ่งต้องมีการรวบรวมหิมะจากพื้นที่ใกล้เคียงมาใช้ในการปั้นงานหิมะนี้ทุกปี

ในด้านการสร้างงานประติมากรรมหิมะนั้น จะเริ่มจากการนำก้อนหิมะอัดแน่นมีลักษณะเป็นบล็อกมาประกอบขึ้นเป็นโครงสร้าง หลักก่อน แล้วจากนั้นจึงเริ่มเกลาโดยเครื่องมือให้เป็นรูปร่าง แล้วจึงค่อยโรยหิมะตกแต่งในรายละเอียดเป็นขั้นสุดท้าย ซึ่งระยะเวลาทั้งหมดในการสร้างจะใช้เวลาในช่วง 1 เดือนก่อนเริ่มเปิดงานเทศกาลหิมะ ซึ่งเจ้าของผลงานต้องคอยประคบประหงมชิ้นงานของตนให้ดี เพราะว่าสาพแวดล้อมที่อยู่กลางแจ้งไม่สามารถควบคุมได้ บางทีชิ้นงานอาจมีการละลายไปบ้าง เจ้าของผลงานก็ต้องคอยแต่งเสริมให้งานสมบูรณ์อยู่เสมอจนกว่าจะเริ่มต้นเปิด งานเทศกาล งานประติมากรรมเหล่านี้จะถูกแสดงอยู่ 1 สัปดาห์ แล้วจะถูกทุบทำลายไป กลายเป็นกองหิมะขนาดมหึมา แล้วค่อยๆละลายไปเมื่ออากาศอุ่นขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น